POST NEWS ONLINE “อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.“จับมืออดีตปปช.“วิชา มหาคุณ”และอดีตผู้ว่าสตง.”พิศิษฐ์“ผนึกสมาคมสื่อมวลชนฯ.เดินหน้าโครงการคอรัปชั่นเทคขจัดทุจริตแนวใหม่

      “อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.“จับมืออดีตปปช.“วิชา มหาคุณ”และอดีตผู้ว่าสตง.”พิศิษฐ์“ผนึกสมาคมสื่อมวลชนฯ.เดินหน้าโครงการคอรัปชั่นเทคขจัดทุจริตแนวใหม่


       นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์(FKII Thailand) ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์กล่าวภายหลังบรรยายเรื่อง “คอรัปชั่นเทค Corruption Tech โครงการเอไอ.ใยแมงมุมThe AI Spider Project :แนวทางใหม่ในการตรวจสอบและปราบปรามทุจริต“ว่า ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป.ป.ช.และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาสอดีต ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ดร.พงษ์ หรดาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและดร.โรจนศักดิ์ แสงธศิริวิไล. นายกสมาคมเครือฝ่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนาชาติซึ่งเป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรมสื่อมวลชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนี้เห็นด้วยและสนับสนุนโครงการคอรัปชั่นเทคเพื่อขจัดทุจริตแนวใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และขอให้เร่งพัฒนาระบบเพื่อจะทดสอบระบบ”เอไอ.สไปเดอร์“ในโครงการฝึกอบรมฯลฯ.ครั้งต่อไปที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ปลายเดือนเมษายนที่จะถึงนีั“


   ทั้งนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร บรรยายไว้อย่างน่าสนใจว่า“…จากผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การ ทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI)ขององค์กรเพื่อความ โปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ประจำปี 2567  จากจำนวนประเทศ 180 ประเทศ

     ประเทศไทย ได้ 34 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 107 ของโลกและหล่นจากอันดับ4เป็นอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งคะแนน34คะแนนในปี2567 ถือเป็นคะแนนต่ำสุดในรอบ 13ปี(ปี2555-2567) ประการสำคัญคือประเทศไทยได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโลกมาโดยตลอดซึ่งหากพิจารณาย้อนไป10ปีจะพบว่า การแก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่กระเตื้องขึ้นมีแต่ถดถอยลงดัชนีรับรู้การทุจริตตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี2567พบว่าคะแนนและอันดับลดลงต่อเนื่อง กล่าวคือในปี2555ได้คะแนน37อันดับ88ของโลก ปี2567 ได้คะแนน 34 อันดับ 107 สะท้อนความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของประเทศถดถอยในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา


   ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตเป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 สถาบันได้แก่IMD WEF BF(TI) PRS V-DEM PERC WJC EIC

โดยตัวชี้วัดจากข้อมูล 7 ด้าน

1.เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ

2.มีอำนาจ หรือตำแหน่งทางการเมือง มีการทุจริตโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบบเครือญาติ และภาคการเมืองกับภาคธุรกิจ มีความสัมพันธ์กัน

3.การทุจริตในภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเกี่ยวกับสินบน การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับส่วนรวม

4.การติดสินบนและการทุจริต

5.ภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ

6.ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ

7.ระดับการรับรู้ว่าการทุจริต


      สำหรับประเทศไทยสถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นอยู่ในขั้นวิกฤตเหมือนมะเร็งร้ายระยะสุดท้ายกำลังทำลายศักยภาพของประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต

จึงต้องใช้แนวทางใหม่ในการตรวจสอบปราบปรามทุจริตภาครัฐ-ภาคเอกชน

นั่นคือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกว่า“คอรัปชั่นเทค Corruption Tech

ภายใต้โครงการThe AI Spider Project(TSP)ทำหน้าที่เสมือนไฟฉายและใยแมงมุมในยุคดิจิตอลแพลตฟอร์มและเอไอ.ซึ่งจะเป็นparadigmใหม่ที่จะเอาชนะสงครามปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง 

       ทั้งนี้มีตัวอย่างการใช้คอรัปชั่นเทค(Corruption Tech)ปราบปรามการทุจริตในต่างประเทศ

1. ยูเครน: 

ระบบ ProZorro (AI + Blockchain)

>ระบบ e-Procurementที่ใช้ AI + Blockchainเพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล  

>AI วิเคราะห์รูปแบบการเสนอราคาเพื่อตรวจจับการทุจริต เช่น:

 >ผู้เสนอราคาร่วมกัน (Bid Rigging) → AI ตรวจสอบรูปแบบการเสนอราคาที่คล้ายกันเกินไป  

  >โครงการที่มีราคาสูงเกินจริง → เปรียบเทียบกับราคาตลาดและโครงการอื่นๆ   

- **ผลลัพธ์**: ลดการทุจริตในโครงการรัฐได้ **20-30%** และประหยัดงบประมาณได้หลายล้านดอลลาร์  

2. เกาหลีใต้: 

AI ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

>ระบบ AI ตรวจจับการเบิกจ่ายเงินผิดปกติในโครงการของรัฐ  

ตัวอย่างการทำงาน

>โครงการก่อสร้างโรงเรียน แต่ไม่มีหลักฐานภาพถ่ายความคืบหน้า→ AI เชื่อมกับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อยืนยัน  

 >การเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน → วิเคราะห์ข้อมูลการเบิกจ่ายในระบบคลาวด์   

- **ผลลัพธ์**: ลดการทุจริตในระบบราชการได้ **15-25%**  

3. อินเดีย: 

AI ตรวจสอบการทุจริตในโครงการสวัสดิการ

>ระบบ Aadhaar + AI ตรวจสอบการฉ้อโกงในโครงการช่วยเหลือสังคม  

**ตัวอย่าง**

>การจ่ายเงินซ้ำซ้อน → AI วิเคราะห์ข้อมูล biometric (ลายนิ้วมือ/ม่านตา) เพื่อป้องกันการรับเงินซ้ำ  

>ผู้รับผลประโยชน์ปลอม → ใช้ Facial Recognition AI ยืนยันตัวตน   

**ผลลัพธ์** ประหยัดงบประมาณ **1.2 พันล้านดอลลาร์** จากการตัดชื่อผู้รับปลอมออก  

4. สหรัฐอเมริกา:

AI วิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงินของนักการเมือง

>ระบบ AI ติดตามการโอนเงินที่น่าสงสัยของนักการเมืองและข้าราชการ  

**ตัวอย่าง**

>การโอนเงินก้อนใหญ่ไปต่างประเทศ → AI ตรวจสอบความเชื่อมโยงกับเครือข่ายทุจริต  

>บัญชีลับที่เชื่อมโยงกับผู้รับเหมา → ใช้ **Graph AI** วิเคราะห์เครือข่ายความสัมพันธ์   

**ผลลัพธ์**เปิดเผยคดีทุจริตหลายคดี เช่น การรับสินบนในโครงการก่อสร้าง  

5. บราซิล

AI วิเคราะห์เอกสารปลอมในโครงการรัฐ

>ระบบ AI (OCR + NLP)ตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง  

**ตัวอย่าง**

>ใบเสนอราคาปลอม → AI เปรียบเทียบลายเซ็นและรูปแบบเอกสารกับฐานข้อมูล  

>โครงการหลอกลวง → วิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลในเอกสาร   

**ผลลัพธ์**ยกเลิกโครงการทุจริตมูลค่า **500 ล้านดอลลาร์**  

6. สิงคโปร์

AI ตรวจสอบ Conflict of Interest

>ระบบวิเคราะห์ความขัดแย้งของผลประโยชน์ในภาครัฐและเอกชน  

**ตัวอย่าง**

>นักการเมืองมีหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทาน → AI เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนบริษัทและบัญชีทรัพย์สิน  

>ข้าราชการร่วมกับญาติแสวงประโยชน์ในโครงการรัฐ → ใช้ Network Analysis AI

**ผลลัพธ์**

เพิ่มความน่าเชื่อถือในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ  

7.จีน:


ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012 โดยมีแนวทางการปราบปรามคอร์รัปชันของจีนทั้งแบบอนาล็อคและดิจิตอล

1. นโยบาย "ฆ่าเสือ ตีแมลงวัน"

   "เสือ" หมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง ส่วน "แมลงวัน" คือข้าราชการระดับล่าง นโยบายนี้มุ่งปราบปรามการทุจริตทุกระดับ โดยเฉพาะในภาคการเงินและพลังงาน   

>ปี 2024 มีการลงโทษเจ้าหน้าที่และประชาชนรวม 589,000 คน ในจำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีหรือเทียบเท่า 53 คน   

2. ระบบ "ไม่กล้า-ไม่สามารถ-ไม่อยากทุจริต"

 >ไม่กล้า : ใช้มาตรการลงโทษรุนแรง เช่น ประหารชีวิตในคดีทุจริตขนาดใหญ่  

 >ไม่สามารถ : ปรับปรุงระบบตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบงบประมาณแบบ Real-time Audit  

>ไม่อยาก : สร้างจิตสำนึกผ่านการศึกษาและประชาสัมพันธ์   

3. การปฏิรูปหน่วยงานตรวจสอบ

>CCDI (คณะกรรมการกลางตรวจสอบวินัยพรรค) มีอำนาจสืบสวนเจ้าหน้าที่ทุกระดับ 

*ในปี 2023 ตรวจสอบเจ้าหน้าที่อาวุโส 58 คน และลงโทษเจ้าหน้าที่ 4.7 ล้านคนในรอบ 10 ปี   

>จีนยังพัฒนาระบบ "บัญชีดำผู้ติดสินบน" เพื่อติดตามและลงโทษผู้เกี่ยวข้อง   

4. การใช้สื่อและวัฒนธรรมประชาสัมพันธ์

>ผลิตสารคดี *Always on the Road* และละคร *In the Name of People* เพื่อเปิดโปงกรณีทุจริตจริงและสร้างจิตสำนึกสาธารณะ   

5. การปราบปรามแบบค่อยเป็นค่อยไป

แบ่งขั้นตอนการจัดการเป็น 4 ระดับ 

ตั้งแต่การตักเตือนจนถึงลงโทษทางกฎหมาย โดย 90% ของคดีเริ่มจากการเตือนและลงโทษทางวินัย   

         การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยต้องอาศัยการบูรณาการหลายมิติ ทั้งการปฏิรูประบบราชการ การส่งเสริมความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้ 5 แนวทาง

1. การเสริมสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance)

2.การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

3.การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

4.การสร้างวัฒนธรรมความซื่อสัตย์

5.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Corruption Tech ภายใต้โครงการThe AI Spider Project(TSP)

       การป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกภาคส่วนจึงต้องผนึกความร่วมมือในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

      สถาบันเอฟเคไอไอ.กำลังพัฒนาคอรัปชั่นเทคเป็นแนวทางใหม่ในการขจัดทุจริตด้วยแพลตฟอร์มดิจิตอลและเทคโนโลยีAiภายใต้โครงการเอไอ.ใยแมงมุม(The AI Spider Project)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและปราบปรามทุจริตภาครัฐและภาคเอกชน

        สำหรับโมเดลThe AI Spider project เฟสที่1 ประกอบด้วย

1. แพลตฟอร์มทราฟฟี ฟองดู (Traffy Fondue )

พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดTraffy Fondue เพื่อให้ประชาชนช่วยตรวจสอบจะเป็นกลไกหลักของโครงการ

2.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI :Artificial intelligence)

วิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ระบบ e-GP  

3. สมองของเอไอ.ในการเรียนรู้(Machine Learning)

สร้างระบบเตือนภัยการทุจริต (Early Warning System)โดยใช้ Machine Learning  

4.เปิดกว้างสร้างเครือข่ายผู้แจ้งเบาะแส(Whistleblower)

5.เชื่อมโยง ปปช. ปปท. สตง. รัฐสภา สำนักงบประมาณ 

กรมบัญชีกลาง เครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น 76 จังหวัด กทม. อปท. หน่วยงานอื่น

    การขับเคลื่อนโครงการใยแมงมุม ระยะที่ 1

 1. เปิดใช้แพลตฟอร์มThe AI Spider Projectเป็นทางการภายในเดือนพฤษภาคม 2568

 2. ใช้Corruption Techตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานเสี่ยง  

 3. พัฒนาระบบ Open Data + AIอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนและสื่อมวลชนช่วยตรวจสอบ  

 4. สร้างความร่วมมือกับ Tech Startupในการพัฒนา AI Anti-Corruption Tools  

 5. ผลักดันนโยบายดิจิตอลภาครัฐให้เชื่อมโยงข้อมูลและใช้Corruption Techในการตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการคอรัปชั่นในประเทศไทย

       การใช้Corruption Technologyต่อต้านคอร์รัปชันต้องทำควบคู่กับการปฏิรูประบบราชการและส่งเสริมวัฒนธรรมความโปร่งใส เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน 

หากทำได้อย่างจริงจังต่อเนื่องจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขจัดทุจริตและเพิ่มความน่าเชื่อถือ(Trust)ให้ประเทศไทย

       แนวทางเหล่านี้ต้องดำเนินการควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้าง "ระบบนิเวศต่อต้านคอร์รัปชัน" ที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ทั้งนี้ ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการยกระดับจิตสำนึกสาธารณะและความมุ่งมั่นทางการเมืองในการปฏิรูปอย่างแท้จริง….“

หมายเหตุ:โครงการ”อบรมสื่อมวลชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ..”จัดโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน ป.ป.ช.

—————————-

ประวัติวิทยากรโดยสังเขป

นายอลงกรณ์ พลบุตร

ตำแหน่งปัจจุบัน

>ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

>ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์

(FKII: Fields for Knowledge Integration and Innovation) 

>ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมท

Workdview Climate Foundation 

>ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย

>ประธานคณะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ,

 สภาผู้แทนราษฎร

>ประธานคณะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ,สภาผู้แทนราษฎร

>รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์

>ประธานคณะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ตำแหน่งและผลงานในอดีต

> รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

>ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2562-2566 

> ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN-GFHS) ปี2660-2561

>รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปี 2558-2560

>สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ ปี2557-2558

>อดีตส.ส.เพชรบุรีและส.ส.บัญชีรายชื่อ6สมัย ระหว่างปี 2535 - 2557

ผลงานเขียนหนังสือ

>4เล่มด้านต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คอรัปชันและการเมือง



ความคิดเห็น