POSTNEWS​ ​ONLINE​ “CEO EEP Group” โชว์วิสัยทัศน์ระบบจัดการปัญหาขยะชุมชนระดับภูมิภาคเอเซีย กลางเวที 7th Waste Management & Waste to Energy Asia Summit 2023​

 “CEO EEP Group” โชว์วิสัยทัศน์ระบบจัดการปัญหาขยะชุมชนระดับภูมิภาคเอเซีย กลางเวที 7th Waste Management & Waste to Energy Asia Summit 2023


       


ที่ห้องแกรนด์บอลลูม ชั้น 4 โรงแรมเรดิสัน บลู พาซ่า ริมถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร นักธุรกิจและผู้ประกอบการ รวมถึงคณะทำงานและกลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการเกี่ยวกับระบบขยะมูลฝอยจากทุกส่วนภูมิภาคเซีย Innovation Networking Brainstorm Connection” (INBC Global) ได้จัดการประชุมภายใต้ชื่อรายการ  7th Waste Management & Waste to Energy Asia Summit 2023 ร่วมเสวนากันเป็นจำนวนมาก

        โดยที่ประชุม นายอบีนาช มาจี้ CEO EEP Group ในฐานะผู้บริหารระดับสูงระบบการจัดการบ่อขยะ บริษัท อิสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด  ในเขตพื้นที่ ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ได้รับเกียรติรับเชิญเข้าร่วมเสวนา  โดยขึ้นพูดบนเวทีถึงแนวทางการบริหารจัดการขยะแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ ร่วมถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันประสบการณ์กับผู้บริหารจากหลายบริษัท  ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการขยะและการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน



        ด้าน นายอบีนาช มาจี้ CEO EEP Group ได้กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 3 ปีมาแล้ว  ที่ EEP Group หรือกลุ่มบริษัทอีอีพี เปลี่ยนคณะผู้บริหารใหม่ยกชุด กลุ่มบริษัท  อีอีพี ประกอบด้วย บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด( EEP) ซึ่งมีธุรกิจหลัก คือ ให้บริการกำจัดขยะชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการด้วยวิธีการฝังกลบตามหลักวิศวกรรม โดยมีลานฝังกลบขนาด 159 ไร่ อยู่ภายในพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรในตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวม 320 ไร่ และมีบริษัทในเครืออีก 2 บริษัท ดำเนินกิจการที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ บริษัท ราชบุรี อีอีพี  รีนิวเอเบิ้ล เอนเนอจี้ จำกัด ( R-EEP) ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตจากขยะชุมชนที่นำมาจากลานฝังกลบของบริษัท EEP และบริษัท สมุทรปราการ รีนิวเอเบิ้ล เอเนอร์จี้ จำกัด ( SRE )ประกอบกิจการเก็บขนขยะชุมชนในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด และเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ   ทั้ง บริษัท R-EEP และบริษัท SREมีสถานที่ทำการตั้งอยู่ในอาณาเขตพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแพรกษาใหม่เช่นเดียวกัน




         “สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตจากขยะชุมชนที่นำมาจากลานฝังกลบของบริษัท EEP และบริษัท สมุทรปราการ รีนิวเอเบิ้ล เอเนอร์จี้ จำกัด ( SRE )ประกอบกิจการเก็บขนขยะชุมชนในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด และเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ   ทั้ง บริษัท R-EEP และบริษัท SREมีสถานที่ทำการตั้งอยู่ในอาณาเขตพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแพรกษาใหม่เช่นเดียวกัน”

       “นอกจากน้ำจุลินทรีย์ EM จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการควบคุมบรรเทาความรุนแรงของกลิ่นขยะอินทรีย์ที่บูดเน่าเหม็นอยู่บนลานฝังกลบแล้ว น้ำจุลินทรีย์ EM ยังถูกใช้ไปในการทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายของขยะประเภทเศษอาหารผัก ผลไม้ ใบไม้ ซากสัตว์ต่างๆให้เกิดการย่อยสลายเร็วยิ่งขึ้น   และยังนำไปใช้ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำในลำคลองสาธารณะต่างๆในเขตพื้นที่รอบที่ตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแพรกษาใหม่อีกด้วย”


     นายอบีนาช มาจี้ กล่าวต่อว่า บริษัทตั้งหน่วยผลิตน้ำจุลินทรีย์ EM จากขยะชุมชนประเภทผักสด ขึ้นภายในพื้นที่ของบริษัท ทำหน้าที่ผลิตน้ำจุลินทรีย์ EM สูตรต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานบนลานฝังกลบ ทั้งในด้านฉีดพรมเพื่อเร่งการย่อยสลายของอินทรีย์สารในขยะเปียกประเภทเศษอาหาร (Food Waste)  และด้านลดความรุนแรงของกลิ่นขยะที่ฟุ้งตามลมไปยังชุมชนตามพิกัดที่ได้รับแจ้งปัญหา นอกจากนี้ยังนำไปฉีดลงแหล่งน้ำลำคลองสาธารณะเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นประจำทุกเดือน และยังสนับสนุนน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มฟรี แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในละแวกใกล้เคียงด้วย



ความคิดเห็น